ISO 9001:2015


ISO9001:2015
เป็นมาตรฐานสากลที่ระบุข้อกำหนดสำหรับระบบบริหารคุณภาพขององค์กรวัตถุ ประสงค์ของมาตรฐานนี้ได้มีการกำหนดกลุ่มของข้อกำหนดที่ซึ่งหากมีการนำระบบไป ประยุกต์ใช้ อย่างมีประสิทธิผล จะทำให้ ลูกค้าของ องค์กรนั้นสามารถมั่นใจ ได้ว่าจะสามารถ ส่งมอบ ผลิตภัณฑ์ /บริการที่ซึ่งสอดคล้อง ต่อความ ต้องการและคาดหวัง รวมทั้งสอดคล้องกับข้อกำหนด ทางกฎหมาย ที่เกี่ยวข้อง

 

 

ประโยชน์ที่ได้รับ

  • ประหยัดค่าใช้จ่ายจากการมีการทำงานเป็นระบบในระยะยาว
  • เพิ่มประสิทธิผลในการทำงาน
  • พนักงานมีจิตสำนึกในเรื่องของคุณภาพมากขึ้นลดข้อร้องเรียนจากลูกค้า
  • สร้างพนักงานให้มีวินัยในการทำงาน
  • ทำให้เกิดพัฒนาการทำงานเป็นทีมหรือเป็นกลุ่ม มีการประสานงานที่ดี และสามารถพัฒนาตนเองตลอดจน เกิดทัศนคติที่ดีต่อการทำงาน
  • การจัดองค์กร การบริหารงาน การผลิต ตลอดจนการให้บริการมีระบบ และมีประสิทธิผล ผลิตภัณฑ์และบริการ เป็นที่พึงพอใจของลูกค้า หรือผู้รับบริการ
  • ก่อให้เกิดภาพลักษณ์ที่ดีแก่องค์กร

หลักการนำไปปฏิบัติใช้งาน

สร้างโอกาสทางการค้า  สำหรับตลาดใหม่ และ สามารถเพิ่มขีดความสามารถ ในการแข่งขันกับองค์กร ขนาดใหญ่ได้หลักการและข้อกำหนดของ ISO 9000 เป็นสิ่งที่รวบรวมมาจากแนวทางปฏิบัติ ที่จำเป็น ต้องมี ในระบบการบริหารงานโดยทั่วไปขององค์กร  เพื่อให้เกิดความสะดวก  ในการนำไปประยุกต์ใช้ ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว องค์กรต่าง ๆ ได้มีการปฏิบัติแล้วเป็นส่วนใหญ่ เพียงแต่อาจขาดความสม่ำเสมอและขาดความสมบูรณ์ เนื่องจากไม่ได้จัดระบบไว้เป็นลายลักษณ์อักษร  เพื่อใช้อ้างอิงในการบริหารงาน ดังนั้น ในการจัดระบบการบริหารงานคุณภาพ ตามข้อกำหนดของ ISO 9000 จึงไม่ใช่สิ่งที่ยุ่งยาก แต่ อาจมีรายละเอียดปลีกย่อย และ ระยะเวลาที่ใช้ในการดำเนินการมากน้อยแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับ สถานภาพและศักยภาพของแต่ละองค์กร

สิ่งสำคัญที่จะทำให้การจัดทำระบบประสบความสำเร็จ คือ

  1. ผู้บริหารระดับสูงขององค์กรมีความศรัทธาและมุ่งมั่นให้การสนับสนุนอย่างจริงจังและต่อเนื่องผู้บริหารทุกระดับต้องมีความเชื่อในประโยชน์ของการจัดทำระบบ โดยเห็นว่าการจัดทำระบบเป็นสิ่งจำเป็น และก่อให้เกิดประโยชน์ต่อองค์กรทุกคนในองค์กรต้องมีความตั้งใจจริง และสมานสามัคคี ร่วมแรงร่วมใจในการจัดทำระบบ
  2. ทุกคนในองค์กรไม่เห็นว่าการจัดทำระบบเป็นภาระ และจะต้องมุ่งมั่นดำเนินการจนสำเร็จแนวทางที่ จะนำไปสู่ ความสำเร็จในการจัด และนำระบบการบริหารงานคุณภาพไปใช้ให้เกิดประสิทธิภาพสามารถตอบสนองวัตถุประสงค์ขององค์กร และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมด มีขั้นตอนโดยสรุปดังนี้
    1. พิจารณาความต้องการ และ ความคาดหวังของลูกค้ารวมทั้งผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย  ที่เกี่ยวข้องกับ การดำเนินธุรกิจขององค์กร
    2. กำหนดนโยบายและวัตถุประสงค์ด้านคุณภาพขององค์กรเพื่อแสดงทิศทางและความมุ่งมั่นด้านคุณภาพ
  3. พิจารณาทบทวน และกำหนดกระบวนการ และหน้าที่ความรับผิดชอบในการดำเนินการที่จำเป็นต้องมีเพื่อให้สามารถบรรลุวัตถุประสงค์  ด้านคุณภาพได้ โดยจัดทำเป็นเอกสารที่เหมาะสม และ มีข้อมูลเพียงพอที่จะให้นำไปปฏิบัติได้
  4. พิจารณาทบทวนและกำหนดทรัพยากรที่จำเป็นต้องใช้ในการดำเนินการ ตามกระบวนการที่กำหนดเพื่อให้บรรจุวัตถุประสงค์ด้านคุณภาพได้
  5. กำหนดวิธีการวัดประสิทธิผลและประสิทธิภาพของแต่ละกระบวนการภายในองค์กรโดยจัดทำเป็นเอกสารให้มีข้อมูลเพียงพอนำวิธีการที่กำหนดไปวัดประสิทธิผลและประสิทธิภาพของกระบวนการต่าง ๆ
  6. กำหนดวิธีการในการป้องกันมิให้เกิดข้อบกพร่อง รวมทั้งวิธีการในการขจัดสาเหตุ ของข้อบกพร่อง
  7. กำหนดให้มีกระบวนการเพื่อการปรับปรุงระบบการบริหารงานคุณภาพขององค์กรอย่างต่อเนื่องและนำกระบวนการนี้ไปใช้

ในการดำเนินการตามแนวทางข้างต้นให้บรรลุผล องค์กรควรวางแผนการดำเนินการ และ มอบหมาย งาน แก่ผู้รับผิดชอบในระดับต่าง ๆ จากทุกหน่วยงานภายในองค์กร และฝึกอบรมบุคลากรระดับต่าง ๆ ให้เข้าใจหลักการและข้อกำหนดของมาตรฐาน เพื่อให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ ในการจัดทำระบบได้ อย่างถูกต้องเหมาะสม ตามระดับความรับผิดชอบของบุคลากรแต่ละกลุ่ม