.................................................................................................................................


OHSAS 18001 ระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย / 
(Occupational Health Safety System)คือระบบที่ใช้สำหรับการบริหาร
จัดการภายในองค์กร เพื่อลดความเสี่ยงต่ออันตรายและความปลอดภัยของพนักงาน 
ปรับปรุงการดำเนินการขององค์กรให้เกิดความปลอดภัยและช่วยสร้างภาพพจน์
ความรับผิดชอบขององค์กรต่อพนักงาน ระบบการจัดการอาชีวอนามัย
และความปลอดภัย (มอก. 18001:2550 และ OHSAS 18001:2007) 
Occupational Health and Safety Management System
          ระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย : มอก. 18001:2550 กำหนดขึ้นโดยใช้ BS 8800 (Guide to Occ
upational Health and Safety Management System) 
เป็นแนวทาง อาศัยหลักของระบบการจัดการอาชีวอนามัย และ

ความปลอดภัยเข้ากับระบบการจัดการขององค์กรโดยมีเป้าหมายเพื่อลดและควบคุมความเสี่ยงอัน
ตรายของพนักงานและผู้ที่เกี่ยวข้อง การเพิ่มประสิทธิ ภาพการดำเนินงานของธุรกิจให้เกิดความ
ปลอดภัยและส่งเสริมภาพพจน์ด้านความรับผิดชอบขององค์กรที่มีต่อพนักงานและสังคมมาตรฐาน
ระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย OHSAS18001:2007 กำหนดขึ้นโดยอ้างอิง
BS 8800 มาตรฐานของประเทศต่างๆ และมาตรฐานระบบ OHSMS ของหน่วยรับรองต่างๆ 

 

มาตรฐาน มอก. 18001:2550 และ OHSAS 18001:2007 ได้กำหนดขึ้นเพื่อตอบสนองความ
ต้องการของผู้เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดระบบ การตรวจประเมินและการรับรองความสอดคล้องของระบบ
การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

นอกจากนี้ระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย มอก. 18001:2550 และ OHSAS
18001 :2007 ยังได้รับการพัฒนาให้มีความสอดคล้องกับ ISO 9001:2000 และ ISO
14001:2004 เพื่อให้สามารถบูรณาการเป็น ระบบการจัดการ เดียวกัน 

โครงสร้างของมาตรฐาน 
หลักการที่ 1 คือ ความมุ่งมั่นและนโยบาย (Commitment and Policy)
หลักการที่ 2 การวางแผน (Planning)
หลักการที่ 3 การนำระบบไปปฏิบัติ (Implementation)
หลักการที่ 4 การตรวจวัดและการประเมินผล (Measurement and Evaluation)
หลักการที่ 5 การทบทวนระบบและการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง (Review and Improvement)

ประโยชน์ในการนำระบบ มอก. 18001 :2550 และ OHSAS 18001:2007
ไปปฏิบัติ 

ช่วยลดต้นทุนในระยะยาว เนื่องจากสามารถควบคุมและลดจำนวนการเกิดอุบัติเหตุที่จะเกิดขึ้นต่อ
ความเสียหายทางด้านร่างกายและทรัพย์สิน อาจรวมถึงผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม 
• เกิดสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ดี พนักงานมีความปลอดภัยในการทำงาน 
• สร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับองค์กร 
• มีการพัฒนาบุคลากรให้มีการวางแผน การทำงานเป็นทีมการพัฒนาความรู้เกี่ยวกับระบบการ
  จัดการซึ่งมีการวางแผนการปฏิบัติการตรวจสอบ รวมถึงการแก้ไขข้อบกพร่องและการพัฒนา
  อย่างต่อเนื่อง ก่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงานมากขึ้น 
• ทำให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ ในการดำเนินงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย 
 

   
..................................................................................................................................