ISO 22000:2005


ISO 22000:2005 ที่ซึ่งมีชื่อเต็มว่าระบบบริหารความปลอดภัย ของอาหารข้อกำหนด สำหรับทุกองค์กร ในห่วงโซ่อาหาร “Food Safety Management Systems– Requirements for Any Organizationin the Supply Chain”,ได้ถูกออกแบบมากเพื่อ กำหนดกรอบมาตรฐานสากลที่ครอบคลุมข้อกำหนดทุกมาตรฐาน ที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพด้านอาหาร ( BRC, IFS, HACCP, SQF, GMP, EU) และความปลอดภัยของอาหารที่มีการบังคับใช้ในทาง การค้าสินค้าอาหารอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งจะทำให้ธุรกิจที่อยู่ในห่วงโซ่ อาหารมีมาตรฐานเดียวที่สอดคล้องกัน ไม่ว่าท่านจะเป็นผู้ประกอบ ตั้งแต่วัตถุดิบจนถึงสินค้าสำเร็จรูป และเป็นมาตรฐานที่ตรวจประ เมินได้ เป็นที่ยอมรับในระดับสากล ( Auditablestandard ) รวมทั้งจะช่วยผลักดันให้องค์กรให้ความสำคัญในการดำเนินธุรกิจ

ให้สอดคล้องกับข้อกำหนดของกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ บริการด้านอาหาร ข้อกำหนดส่วนมากของมาตรฐาน ISO 22000:2005 สามารถเทียบเคียงกับ ISO9001:2000 ที่ซึ่งมีการประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร องค์กรที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO9001:2000 สามารถประยุกต์ใช้มาตรฐาน ISO22000:2005ได้โดยสะดวก

 

ISO 22000 มาตรฐานใหม่ในอุตสาหกรรมอาหาร

บทบาทของมาตรฐาน ความปลอดภัยด้านอาหารในการทำให้การผลิตอาหารในอุตสาหกรรมโลกที่ผลิตจำนวนมาก และมีกระบวนการที่ซับซ้อนให้ปลอดภัย ได้ถูกให้ความสำคัญมากขึ้น ผู้บริโภคมีความต้องการมากขึ้น และมีความรู้มากขึ้น มีความคาดหวังว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐและผู้ผลิตอาหารจะมีการกระทำที่ป้องกันสุขภาพ สิ่งท้าทายสำหรับอุตสาหกรรม และผู้ควบคุมกฎหมาย คือ ทำอย่างไรจึงจะทำให้มีการประกันความปลอดภัยใน Supply chain ที่ซับซ้อนที่มีอยู่ทั่วโลก

มีหลายๆ ความพยายามที่จะควบคุมความปลอดภัยของอาหารโดยการออกมาตรฐานต่างๆ เชื่อกันว่าขณะนี้มีมาตรฐานความปลอดภัยของอาหารในโลกมากกว่า 100 มาตรฐาน อาทิเช่น BRC (British Retail Consortium) เป็นสมาคมการค้าสำหรับอุตสาหกรรมขายปลีกของประเทศอังกฤษ IFS (International Food Standard) ผู้ค้าปลีกในเยอรมนีและผู้ค้าปลีกอาหารฝรั่งเศส (และผู้ค้าส่ง) ได้พัฒนาขึ้นเพื่อใช้เป็นหลักการในการ audit ผู้ค้าปลีกแต่ละราย HACCP (Hazard Analysis and Critical Control Point) ไม่ได้เป็นมาตรฐานแต่เป็นหลักการที่ถูกนำไปใช้โดย Codex Alimentarius Commission Codex ให้คำจำกัดความว่า HACCP เป็นระบบที่ระบุ ประเมินเพราะควบคุมอันตรายที่มีความสำคัญต่อความปลอดภัยของอาหาร ( CAC/RCP 1-1969. Rev. 4-2003-Annex ) และอื่นๆ อีกมากมายในอุตสาหกรรมอาหาร และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต้องการมาตรฐานใหม่ที่จะนำเรื่องต่อไปนี้มาพิจารณา

  1. ความสามารถในการควบคุมความเสี่ยงความปลอดภัยทางอาหารใน Food supply chain ทั้งหมด (ไม่ใช่แค่ผู้ผลิตอาหารเท่านั้น)
  2. การยอมรับโดยสากล
  3. สามารถใช้และควบคุมมาตรฐานสำหรับหน่วยงานที่ให้การรับรอง ( Certification Bodies )
  4. สามารถทำให้แน่ใจข้อกำหนดคุณสมบัติขั้นต่ำของผู้ตรวจประเมิน

การตอบรับของนานาชาติสู่ความต้องการเหล่านี้ ทำให้เกิดการจัดทำมาตรฐาน ISO 22000

ISO 22000 กลุ่มทำงานที่พัฒนา ISO 22000 มีตัวแทนผู้เชี่ยวชาญความปลอดภัยของอาหารจาก 14 ประเทศ และจากองค์กรต่างๆ เช่น Codex Alimentarius, the Glogal Food Safety Initiative (GFSI). European Food Industry Organisation (CIAA).

มาตรฐานนี้แบ่งเป็น 3 ส่วน

  • ข้อกำหนดสำหรับ pre-requisite programes ซึ่งหมายถึง GMP, GAP หรือหลักเกณฑ์ ( Code ) อื่นๆ ซึ่งมีความยืดหยุ่นมากในการเลือกโปรแกรมที่เหมาะสมที่สุดสำหรับแต่ละส่วนของ food supply chain
  • ข้อกำหนดสำหรับ HACCP – ตามหลักการ HACCP ของ Codex Alimentarius ซึ่ง HACCP ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงหรือถูกปรับให้ทันสมัยขึ้น
  • ข้อกำหนดสำหรับองค์ประกอบระบบการจัดการ – คล้ายกับ ISO 900 1 : 2000

ISO 22000 ยังคงใช้หลักการของ Codex HACCP แต่เอามาผสมกับระบบการจัดการความปลอดภัยของอาหาร สำหรับองค์การต่างๆ การทำ ISO 22000 ดีกว่าที่ จะมีแต่ระบบ HACCP เท่านั้น

  • ผู้บริหารระดับสูงขององค์กรต้องเกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของอาหารอย่างจริง จัง ตั้งแต่การตั้งนโยบายและวัตถุประสงค์ ความปลอดภัยอาหาร ตลอดจนต้องมีการทบทวนของผลการทำระบบความปลอดภัยอาหาร
  • องค์กรต้องตรวจวัด และแสวงหาการปรับปรุงผลการดำเนินการเรื่องความปลอดภัยอาหารอย่างต่อเนื่อง
  • ถ้าเป้าหมายเรื่องความปลอดภัยอาหารที่ตั้งไว้ไม่ประสบความสำเร็จ องค์กรต้องดำเนินการแก้ไขปรับปรุงเพื่อให้บรรลุเป้าที่ตั้งไว้

ที่สำคัญ ผู้ให้การรับรองที่ต้องการออก ISO 22000 Certificate ต้องถูกควบคุมอย่างเข้มงวดโดยข้อกำหนดของ accreditation bodies ของประเทศนั้นๆ สิ่งนี้จะทำให้แน่ใจได้ว่ามาตรฐานการประเมิน และการรับรองอยู่ในระดับที่สูง ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาที่ผ่านมาเรื่องหนึ่งในการให้การรับรองระบบ HACCP

องค์กรเล็กๆ อาจเข้าใจว่า ISO 22000 ซับซ้อนเกินไป ซึ่งเรื่องนี้ได้ถูกนำมาพิจารณา และพูดถึงใน ISO 22000 ว่ามาตรฐานนี้สามารถใช้ได้กับทุกองค์กร ไม่ว่าเล็กหรือใหญ่โดยองค์กรนั้นมีส่วนเกี่ยวข้องกับห่วงโซ่อาหาร ( ISO 22000: 2005 (E) ) ซึ่งความจริงแล้วองค์กรเล็ก มักมีระบบที่ไม่ซับซ้อน และมีกระบวนการที่ง่ายๆ ดังนั้นจึงทำได้ง่ายกว่าองค์กรใหญ่